Skip to content
honda-civic.jpeg

สถานการณ์ของ Tesla ในจีนอาจไม่สู้ดีนัก

เมื่อพูดถึงรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% จากบรรดาผู้ผลิตในปัจจุบัน คงไม่มีใครกล้าปฎิเสธความเป็นเบอร์หนึ่งของ Tesla แบรนด์รถยนต์พลังงานไฟฟ้าจากอเมริกา ที่นำทัพโดย Elon Musk ได้ โดยสถานการณ์ล่าสุดในตลาดเบอร์สองของโลกอย่างประเทศจีน ที่ดูทีท่าว่าจะทำตลาดไปได้ด้วยดี แต่ล่าสุดดูเหมือนว่าทางแบรนด์สุดหรูจะเดินไปสะดุดตอเข้าให้แล้ว หลังจากยกเลิกปัญหาต่างๆ รุมเร้าเข้ามาอย่างหนัก

[adsforwp id=”1302″]

fe0a4e810c4fc9c11749ef38aa7efd2e.jpg

สำหรับตลาดรถยนต์ในประเทศจีนนั้นนับว่าเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลก ด้วยจำนวนประชากรที่มาก และอัตราการใช้จ่ายที่สูง จากการบันทึกข้อมูล ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงมีนาคม ปี 2021 นี้ เพียงระยะเวลา 3 เดือนมีรถยนต์ Tesla ที่ผลิตในประเทศจีน ขายออกไปแล้วกว่า 69,000 คัน ซึ่งนับว่าเป็นการจำหน่ายที่สูงเป็น 3.7 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันจากปี 2020 ซึ่งคงไม่ต้องบอกว่ารถของแบรนด์ Tesla ไปได้ดีขนาดไหนในประเทศจีน

แต่ปัญหาจากยอดการจำหน่ายที่สูงมากขนาดนี้ ก็คือการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดยภายในงานใหญ่ระดับโลกอย่าง Shanghai Motor Show 2021 ที่ผ่านมา มีรายงานข่าวว่ามีผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ของ Tesla หนึ่งคน พยายามกระโจนขึ้นไปบนหลังคารถที่จอดโชว์อยู่ภายในงาน และตะโกนว่า “Tesla เกือบจะทำให้ตัวเองต้องตาย” โดยเมื่อสืบลงไปในรายละเอียดก็พบว่า หญิงสาวที่ลงมือทำเรื่องนี้ ได้ซื้อตัวรถไปใช้งาน แล้วปรากฎว่า ระบบเบรกอัตโนมัติ ในการขับขี่แบบ Auto Pilot ไม่ทำงาน จนทำให้เจ้าตัวเกือบชนกับรถที่สัญจรไปมาบนท้องถนน และได้ทำการร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ทางผู้ผลิตกลับไม่ตอบสนองต่อการร้องเรียนในครั้งนั้น จึงได้ตัดสินใจแสดงพฤติกรรมดังกล่าวภายในงานใหญ่ระดับโลก

[adsforwp id=”1302″]

890da92e10d3e8c7aa2640ac2b87a602.jpg

ต่อมาไม่นานกองทัพของประเทศจีน ได้ประกาศห้ามให้บุคลากรทางการทหารที่สังกัดที่มียศสูง ห้ามใช้ยานพาหนะของ Tesla สืบเนื่องมาจากตรวจสอบได้ว่าตัวรถมีการบันทึกประวัติการขับขี่ เส้นทาง รวมไปถึงการสนทนาผ่านการโทรศัพท์ที่เชื่อมต่อกับตัวรถ ซึ่งมีผลต่อความมั่นคงทางการทหาร จึงได้สั่งห้าม และถูกแบนจากกองทัพโดยปริยาย

ไม่เพียงเท่านั้น ด้วยจำนวนการจำหน่ายที่มากมาย ก็จะตามมาดูภาษี ซึ่งทางโรงงาน Tesla เป็นแบรนด์ผู้ผลิตยานยนต์จากต่างชาติเพียงเจ้าเดียวที่ได้รับอนุญาตให้ตั้งโรงงานได้โดยไม่ต้องใช้ชื่อของพลเมืองชาวจีนเป็นผู้ครอบครอง ซึ่งจะแตกต่างจากแบรนด์ยานยนต์อื่นๆ ที่จะต้องมีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นพลเมืองของประเทศ ซึ่งเรื่องนี้เคยถูกนำไปถกปัญหากันในงานประชุมโดยคณะทูตระดับสูงระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่จัดขึ้นใน Alaska เมื่อวันที่ 18-19 มีนาคมที่ผ่านมา

f9f78be4f19bbb5ca714ff91256de2ec.jpg

ต่อมาในวันที่ 11 พฤษภาคมที่ผ่านมานั้น Reuters สำนักข่าวระดับโลกก็ได้รายงานเกี่ยวการล้มแผนในการขยายโรงงานในเมือง Shanghai ซึ่งถ้าไม่ล้มแผนการ โรงงานแห่งนี้ในประเทศจีนจะมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สองของบริษัท รองจากโรงงานใน Fremont ในสหรัฐฯ เลยทีเดียว

ดูเหมือนว่าชนวนหลักของการขัดขวาง Tesla ไม่ให้เติบโตในประเทศจีนนั้น จะมีเหตุผลมาจากการเมืองเป็นหลัก ซึ่งเราก็น่าจะพอรู้กันอยู่ว่า สหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานธิบดีคนเก่าอย่าง Donald Trump มีเจตนาที่จะงัดกับจีนไม่น้อย ทั้งการแบนสินค้าต่างๆ จากประเทศจีนในสหรัฐฯ รวมไปถึงการพยายามผลักดันผู้หลี้ภัยหน้าใหม่ และผู้หนีเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมายด้วยมาตรการที่เด็ดขาด ซึ่งตรงนี้ก็เป็นหน้าที่ของประธานาธิบดีคนใหม่อย่าง Joe Biden ที่ต้องเข้ามารักษารอยร้าวนี้

fb6d4f7283c54448464c1f78f62a8ebc.jpg

แต่จะว่าไปแล้วประเทศจีนนั้นถูกปกครองด้วยระบบสังคมนิยม ซึ่งมีหลายครั้งหลายคราว ที่ทางรัฐบาลของประเทศเข้าสู่กิจการต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในประเทศที่สร้างรายได้มหาศาลเข้ากระเป๋าเจ้าของอย่าง “อันปัง” บริษัทประกันยักษ์ใหญ่ของประเทศ หรือแม้แต่บริษัท “อาลีบาบา” ยักษ์ใหญ่ของวงการ E-commerce ที่มีชื่อเสียงระดับโลก ก็กำลังถูกพิจารณาเข้าควบคุมกิจการ โดยส่วนใหญ่แล้วเหตุผลที่ทางรัฐบาลให้ในการเข้าควบคุมกิจการเหล่านี้คือ “ป้องกันการผูกขาดทางการค้า” ถ้าเราพิจารณาแล้วธุรกิจในประเทศที่จ่ายภาษีให้กับรัฐโดยตรง ยังโดนขนาดนี้ แล้วบริษัทต่างประเทศจะโดนขนาดไหนกันนะ

Credit : bestcarweb.jp

[adsforwp id=”1302″]

author avatar
writer Writer
เกียรติศักดิ์ งามขำ - นักเขียนประจำเว็บไซต์ Thai Driving ผู้ทำงานในวงการยานยนต์มากว่า 10 ปี ชื่นชอบรถยนต์และยานพาหนะทุกประเภท
eFwRIb.jpeg Banner-MGHS2022-1150x150px.webp GGxRyn.jpeg JnjN68.jpeg MIKi4f.jpeg MIKRxa.jpeg d0b807P.jpeg d0b87gt.jpeg
รถใหม่ ราคารถใหม่ รถเปิดตัวใหม่ เจาะลึกรถใหม่