Skip to content
honda-civic.jpeg

ทำความรู้จัก Canoo แบรนด์รถยนต์พลังงานไฟฟ้าหน้าใหม่

ตลาดยานยนต์ตอนนี้กำลังเดินทางเข้าสู่จุดเปลี่ยนถ่ายจากเครื่องยนต์สันดาปภายในไปสู่การใช้งานมอเตอร์ขับกำลังไฟฟ้า ซึ่ง ณ จุดนี้ บรรดาผู้ผลิตที่มีอยู่ในตลาดก็หันมาผลักดันเทคโนโลยีของรถพลังงานทางเลือก และยังมีผู้ผลิตหน้าใหม่ที่เปิดตัวอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน แต่ในบรรดาแบรนด์หน้าใหม่ที่เปิดตัวกันนั้นมีอยู่แบรนด์หนึ่งที่ดูจะแตกต่างออกไปจากพวก ทั้งในเรื่องของหลักการ งานออกแบบ และแนวทางการทำงานของแบรนด์ที่ชวนให้เราสงสัย เลยอยากพาท่านผู้อ่านได้มาทำความรู้จักกับแบรนด์ Canoo แบรนด์หน้าใหม่ที่มาพร้อมกับแนวคิดใหม่ๆไม่ซ้ำใคร

[adsforwp id=”1302″]

1886699bafba4f188314b7595ec1a870.jpg

เรามาทำความรู้จักกับแบรนด์ Canoo กันสักหน่อย โดย Canoo นั้นก่อตั้งในปี 2017 ซึ่งแรกเริ่มนั้นใช้ชื่อ Evelozcity โดยการนำทีมโดย Stefan Krause และ Ulrich Kranz 2 อดีตซีอีโอของ BMW ซึ่งปัจจุบันได้ Tony Aquila ผู้มีดีกรีเป็นถึงเจ้าของรางวัล National EY Entrepreneur Of The Year 2013 มารับหน้าที่ประธานและซีอีโอของบริษัท ในช่วงแรกของการเปิดบริษัทนั้นได้นักลงทุนชาวจีน Li “David” Pak-Tam/Botan และนักอสังหาริมทรัพย์จากเยอรมัน David Stern มาเป็นนายทุนใหญ่ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์

f77fd6fc79a63282b5cf4f3cbcfdc314.jpg

หลังจากเปิดบริษัทมาได้ราวๆ 2 ปี Evelozcity ก็เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Canoo และได้เปิดตัวรถต้นแบบ โดยใช้แนวทางของรถแวนไลฟ์สไตล์ ที่ผสมผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ากับความคลาสสิกตามรอยของ Volkswagen VT1 โดยมีการจัดวลีใหม่ที่เหมาะสมอย่างแนวทาง Multi-Purpose Delivery Vehicle (MPDV) ซึ่งตัวรถจะมาพร้อมกับแพลตฟอร์มสุดเฉียบ “vehicle top hats” ที่จะมาแทนที่ตัวถังและโครงสร้างรถแบบเดิมๆ โดยหลักการแล้วแพลตฟอร์มนี้จะช่วยให้เจ้าของรถสามารถเปลี่ยนตัวถังรถและการออกแบบภายในให้เหมาะกับความต้องการส่วนบุคคลได้ตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงการส่งต่อให้กับผู้ครอบครองรายใหม่

4477b7c0f672f843641e2284116b713e.jpg

แพลตฟอร์มมีความยืดหยุ่นที่สูงมาก มันสามารถปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นรถสำหรับขนส่งสินค้า รถสำหรับใช้งานในระบบขนส่งสาธารณะ หรือจะปรับให้เป็นรถยนต์แคมปิ้งที่กำลังเป็นที่นิยมในช่วงเวลานี้ หรือแม้แต่จะเปลี่ยนรูปแบบของตัวรถจากรถแวนหลังคาปิด ให้กลายเป็นปิ๊คอัพสำหรับงานเชิงเกษตรก็ยังได้

44b0459ca7a8b0eb705eafa1f640fd43.jpg

อีกส่วนหนึ่งที่น่าจะเป็นจุดขายของแบรนด์นี้ คือระบบสมาชิก ที่จะเปิดให้คนทั่วไปสามารถลงทะเบียนใช้งานรถได้ โดยที่ไม่ต้องจ่ายเงินก้อนโตเพื่อเป็นเจ้าของ โดยระบบสมาชิกนี้จะแตกต่างจากระบบเช่าซื้อที่เราคุ้นเคย เพราะจะมีสัญญาแบบเดือนต่อเดือน เมื่อไม่พอใจหรือเบื่อแล้วก็สามารถยกเลิกได้เมื่อครบสัญญา โดยไม่มีการเรียกเก็บเงินเพิ่มในภายหลัง และระบบนี้เองก็กลายเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้แบรนด์ Canoo เติบโตอย่างรวดเร็ว

0058aa9d6e94b2d5db9b8eac33caaa78.jpg

ในช่วงต้นปี 2020 Canoo ประกาศควมร่วมมือกับผู้ผลิตยานยนต์ชั้นนำจากเอเชียอย่าง Hyundai ใการร่วมกันพัฒนาแพลตฟอร์มและเทคโนโลยีการขับขี่ขั้นสูง ต่อมาในช่วงกลางปีทางค่ายก็ได้ประกาศควบรวมกิจการกับ Hennessy Capital Acquisition Corp IV และได้จดทะเบียนใน NASDAQ ภายใต้ GOEV

[adsforwp id=”1302″]

215844d024ceabf3a3e88e9b1a184fb1.jpg

แต่ใช่ว่าจะมีแต่ขาขึ้นอย่างเดียว ในปี 2021 เหมือนปีต้องสาปของ Canoo เพราะทางค่ายโดยมรสุมเข้าอย่างต่อเนื่องทั้งการลาออกของทีมผู้บริหารระดับสูงและการประกาศยุติความร่วมมือของ Hyundai แต่ในเรื่องร้ายก็มีเรื่องดีอยู่ โดยทาง Canoo ได้ตัดสินใจที่จะตั้งรกรากถาวร ด้วยการซื้อพื้นที่ในเมือง Pryor รัฐ Oklahoma ในอเมริกา เพื่อการตั้งโรงงานผลิตอย่างจริงจัง และได้พันธมิตรจากเนเธอร์แลนด์อย่าง VDL Nedcar ในการสร้างผลิตภัณฑ์สำหรับการใช้งานจริง รวมไปถึงการเป็นตัวแทนจำหน่ายในตลาดยุโรป รวมไปถึงการประกาศตั้งสำนักงานใหญ่ในเมือง Bentonville รัฐ Arkansas และยังมีแผนงานสำหรับโรงงานแห่งใหม่บนที่ดินแปลงนี้อีกด้วย

37f9b3fb8c2ebf95b982ff510a5a7b2f.jpg

ในเดือนมีนาคมปี 2022 Canoo ได้ประกาสโมเดลใหม่ “Gamma” โดยจะยังใช้แพลตฟอร์ม “vehicle top hats” และรักษาแนวทาง MPDV ของตัวเองไว้ โดยจะมีตัวเลือกสำหรับลูกค้า 2 รุ่น ประกอบด้วยรุ่น Base และ Premium โดยที่ตัวรถจะเสริมด้านความแข็งแรงเป็นพิเศษ ในงานเปิดตัวนั้น ทางบริษัทได้เชิญผู้เข้าร่วมงานถึง 6 ท่าน ขึ้นไปยืนและนั่งบนหลังคารถพร้อมๆ กัน เพื่อแสดงให้เห็นว่าตัวรถนั้นแข็งแรงขนาดไหน!!!

f4312b134ce8ac796e01d2a3ad360194.jpg

ปัจจุบัน Canoo ได้พันธมิตรในการพัฒนาเซลส์พลังงานแบตเตอรี่ ซึ่งเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงทางด้านนี้โดยตรงอย่าง Panasonic ซึ่งทั้งสองบริษัทจะร่วมกันพัฒนาเซลล์กลมลิเธียมไอออน 2170 เซลล์ โดยที่แผนงานพัฒนาคือการที่จะสามารถทำให้โมดุลแบตเตอรี่นั้น สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในแต่ล่ะเซลส์ไม่ต้องเปลี่ยนยกชุดเมื่อเจอกับปัญหาการเสื่อมสภาพ ซึ่งเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายและยังลดปริมาณขยะเทคโนโลยีไปในตัว

8bd7c673c1e05c9834c0fccd88bc21e9.jpg

Canoo กำลังพยายามอย่างหนักในการขยายกำลังการผลิต โดยทางบริษัทกำลังวางแผนในการผลิตตัวรถ Gamma ให้ได้ 14,000-17,000 คันในปี 2023 และจะขยายกำลังต่อเนื่องเป็น 40,000-50,000 คัน ภายในปี 2024 และเต็มกำลังการผลิตจากโรงงานทั้งสองแห่ง 70,000-80,000 คัน ภายในปี 2025 อีกทั้งยังมีแผนการสำหรับการพัฒนาโมเดลใหม่ในอนาคต โดยมีการนำเสนอรถต้นแบบ Adventure ที่ตั้งบนแพลตฟอร์มเดียวกับ Gamma อีกด้วย ทั้งหมดนี้ดูเหมือนจะเป็นความทะเยอทะยานครั้งใหม่ของ Canoo ซึ่งเราก็ต้องรอดูกันว่าบริษัทจะไปถึงเป้าหมายหรือไม่ และจะมีแผนการในการเข้ามาทำตลาดในโซนเอเชียเร็วๆ นี้ด้วยหรือไม่

Credit : www.motortrend.com

[adsforwp id=”1302″]

author avatar
writer Writer
เกียรติศักดิ์ งามขำ - นักเขียนประจำเว็บไซต์ Thai Driving ผู้ทำงานในวงการยานยนต์มากว่า 10 ปี ชื่นชอบรถยนต์และยานพาหนะทุกประเภท
eFwRIb.jpeg Banner-MGHS2022-1150x150px.webp GGxRyn.jpeg JnjN68.jpeg MIKi4f.jpeg MIKRxa.jpeg d0b807P.jpeg d0b87gt.jpeg
รถใหม่ ราคารถใหม่ รถเปิดตัวใหม่ เจาะลึกรถใหม่