Skip to content
honda-civic.jpeg

ไขปริศนา แบตเตอรี่ NiMH บน Toyota Aqua/Prius C ทำไมน่าสนใจ

อาจจะเป็นข้อมูลเชิงลึกไปสักหน่อยสำหรับข่าวนี้ โดยเป็นการแนะนำถึงความน่าสนใจของชุด แบตเตอรี่ NiMH ที่เปรียบเสมือนเป็นใบเบิกทางของรถยนต์ไฮบริดใหม่จากผู้ผลิต Toyota ซึ่งมีความน่าสนใจ ทั้งในแง่ของต้นทุนการผลิต ขนาด และ น้ำหนัก ซึ่งมันมีประโยชน์และความน่าสนใจขนาดไหน ไปลองศึกษาพร้อมๆ กันครับ

[adsforwp id=”1302″]

258bf020f589370e68e2bcd01ee75e88.jpg

ส่วนประกอบสำคัญที่สุดของรถยนต์พลังงานไฮบริด คือชุดแบตเตอรี่ที่เป็นแหล่งพลังงานหลัก ที่ช่วยในการขับเคลื่อนมอเตอร์ส่งกำลัง ไปยังชุดขับ โดยส่วนใหญ่แล้ว เราจะใช้ชุดแบตเตอรี่แบบ ลิเธียมไอออน (Li-ion) ซึ่งจะมีพลังงานประจุเพียงพอต่อการส่งกำลัง แต่ก็ต้องแลกมาด้วยขนาดที่ใหญ่และต้นทุนในการผลิตที่สูงกว่า อีกทั้งโมดูลในการควบคุมเองก็มีความซับซ้อน และค่อนข้างที่ยากต่อการซ่อมบำรุง ทำให้เกิดการพัฒนาชุดแบตเตอรี่แบบ NiMH (แบตเตอรี่ประจุไว อารมณ์เหมือนถ่านชาร์จที่เราใช้ในปัจจุบัน) เพื่อชดเชยความต่างของแบตเตอรี่แบบเดิม

38eff928aeefda23c3cffffccc8c875b.jpg

แบตเตอรี่แบบ NiMH นั้นจะมีขนาดที่เล็กกว่า น้ำหนักเบากว่า และมีต้นทุนที่ถูกกว่า แต่ก็มีข้อด้อยกว่าแบตเตอรี่แบบ Li-ion คือการรักษาระดับกำลังประจุ ที่คลายออกเร็วกว่า ทำให้การประจุหนึ่งครั้งนั้นจะใช้เวลาไม่นาน แบตเตอรี่ก็จะคลายประจุออกจากหมด ทำให้ต้องเสียระยะเวลาในการชาร์จที่ถี่กว่า แต่ทาง Toyota เองก็มีทางออกให้กับปัญหานี้ ด้วยชุดโมดูลแบบ Bipolar Electrodes โดยมีหลักการพื้นฐานในการ ขจัดบางส่วนที่แยกเซลล์ออกจากกันโดยย่อขนาดแพ็คจากคอลเล็กชั่นของเซลล์ที่แยกจากกันเป็นกองกลุ่มเดียว นั่นหมายความว่า Toyota สามารถสร้างชุดแบตเตอรี่ที่มีจำนวนเซลส์ได้ถึง 1.4 เท่าจากแบตเตอรี่ชุดเดิม และมีการให้กำลังไฟที่สูงกว่า 1.5 เท่า จากแบตเตอรี่ Li-ion

[adsforwp id=”1302″]

3a498706c104c2ab08849e1bb6bb09cf.jpg

แต่ถึงจะใช้หลักการใหม่เข้ามาช่วยเหลือต้นทุนในการผลิตแบตเตอรี่แบบ NiMH ยังคงมีราคาถูกกว่าแบตเตอรี่ Li-ion ในรถไฮบริดขนาดเล็กที่มีทั้งระบบส่งกำลังแบบสันดาปภายในและชุดแบตเตอรี่ราคาแพงสำหรับใส่พอดี ต้นทุนที่ต่ำกว่าอาจจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกว่า ซึ่งแน่นอนว่าเทคโนโลยีนี้เป็นเอกสิทธิ์ของ Toyota ซึ่งมีประสบการณ์มากมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีนี้และนำไปใช้ในรถยนต์ไฮบริดหลายรุ่น

c9e81dddcf1f56354c0c8c90276f154c.jpg

ดังนั้นการหาวิธีที่จะทำให้เทคโนโลยีแบตเตอรี่สามารถแข่งขันกับแบตเตอรี่ Li-ion ได้มากขึ้นโดยการเพิ่มประสิทธิภาพและความหนาแน่นของการจัดเก็บจึงเป็นข่าวที่น่ายินดี แต่ทาง Toyota เองก็ยังไม่เดินหน้านำเอาแบตเตอรี่ชุดนี้ไปใช้ยังผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของทางบริษัท โดยข้อมูลจากสำนักงาน National Highway Safety Administration (NHTSA) ในสหรัฐอเมริกาเองยังไม่รองรับชุดแบตเตอรี่ชนิดใหม่นี้อย่างเป็นทางการ ซึ่งทาง Toyota เองก็กำลังยื่นเพื่อทำการทดสอบ ในเร็วๆ นี้ และน่าจะผ่านมาตรฐานได้อย่างไม่ยากเย็น ซึ่งจะเป็นผลดีโดยตรงกับผู้บริโภคที่จะมีความสามารถในการเข้าถึงรถยนต์พลังงานที่สะอาดขึ้น ประหยัดเชื้อเพลิงมากขึ้น ด้วยราคาจำหน่ายที่ย่อมเยากว่าเดิม

Credit : www.motortrend.com

[adsforwp id=”1302″]

author avatar
writer Writer
เกียรติศักดิ์ งามขำ - นักเขียนประจำเว็บไซต์ Thai Driving ผู้ทำงานในวงการยานยนต์มากว่า 10 ปี ชื่นชอบรถยนต์และยานพาหนะทุกประเภท
eFwRIb.jpeg Banner-MGHS2022-1150x150px.webp GGxRyn.jpeg JnjN68.jpeg MIKi4f.jpeg MIKRxa.jpeg d0b807P.jpeg d0b87gt.jpeg
รถใหม่ ราคารถใหม่ รถเปิดตัวใหม่ เจาะลึกรถใหม่