แฟนที่ติดตามรถแข่งสูตรหนึ่งหรือ F1 อย่างต่อเนื่องคงจะรู้จักกับทีม Williams Racing ทีมที่เคยประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในอดีต โดยมี Sir Frank Williams เป็นหนึ่งขุมพลที่พาทีมคว้าชัยชนะมากมายรวมไปถึงถ้วยแชมป์โลกทั้งในรูปแบบของนักขับและทีม แต่หลังจบการแข่งขันในสนามที่แปดประจำฤดูกาล 2020 สถาณะภาพของทีมจะเปลี่ยนไปหลังการเข้ามาของ Drillton Capital บริษัทการลงทุนสัญชาติอเมริกัน
[adsforwp id=”1302″]
Sir Frank Williams ได้เริ่มต้นอาชีพนักสร้างทีมแข่งในปี 1970 ก่อนจะมา ก่อตั้งบริษัท Williams Grand Prix Engineering Limited โดยเข้าร่วมการแข่งขัน F1 มาตั้งแต่ปี 1977 โดยเปลี่ยนจากทีมทั่วไปเป็นทีม constructor ในปีต่อมา แต่ยังคงเป็น Private Team ที่ไม่ขึ้นตรงกับผู้ผลิตรายใดมาอย่างยาวนานจนถึงปี 2020 โดยทาง Sir Frank Williams ได้เกษียนตัวเองจากการคุมทีม โดยได้ลงจากตำแหน่งบริหารของทีมในปี 2012 โดยได้เปลี่ยนมือให้ Claire Williams ลูกสาวแท้ของตัวเองเข้ามารับหน้าที่บริหารทีม แต่ทุกอย่างก็ดิ่งลงเหวหลังไม่ประสบความสำเร็จในการคว้าชัยชนะได้เลยตั้งแต่ขึ้นสู่ปี 2000 โดยล่าสุดก็ได้ขายกิจการทั้งหมดให้กับบริษัทการลงทุนจากอเมริกาไปในที่สุด
William FW09
จากทีมที่เคยประสบความสำเร็จแบบสุด กลับต้องมาอยู่ในจุดที่ต่ำที่สุดของการแข่งขัน ฤดูกาลที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของทีมคงไม่พ้นฤดูกาล 2019 ภายใต้การนำทัพโดย Claire Williams ที่พาทีมจมอยู่ในอันดับสุดท้ายของตาราง ด้วยการเก็บไปได้เพียง 1 แต้ม (จากคะแนน constructor) ด้วยอันดับที่ 10 จากการแข่งขัน German Grand Prix โดยนักแข่ง Robert Kubica ซึ่งเป็นเพียงการแข่งขันครั้งเดียวตลอดทั้ง 21 สนามของฤดูกาล จนสุดท้ายทีมก็แบกภาระทั้งเรื่องความกดดันและหนี้สิ้นไม่ไหวอีกต่อไปก็ได้ประกาศขายทีมที่ดูแลกันเองในครอบครัวกว่า 43 ปีจบลงในฤดูกาลปัจจุบัน
Robert Kubica บนรถ FW42
[adsforwp id=”1302″]
หากย้อนกลับไปในอดีต William Racing เองเคยร่วมงานกับโรงงานผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงมากมายไม่ว่าจะเป็น Ford, Honda, Judd, Renault, Mecachrome, Supertec, BMW, Cosworth, Toyota รวมไปถึงผู้ผลิตเครื่องยนต์ที่ทีมใช้อยู่ในปัจจุบัน Mercedes แต่ด้วยประสบการณ์ที่สั่งสมเป็นเวลานาน ทำให้ทีม William Racing เองอยู่กับใครก็ไม่ยืด โดยเฉพาะกรณีของ Honda อีกหนึ่งยักษ์ใหญ่ของวงการ F1 ก็เคยมีเรื่องมีราวจนไม่อยากจะเผาผีกันเลยทีเดียว
iWilliam FW11B
ความผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของmu,อาจเกิดจากการที่ผู้บริหารอย่างครอบครัววิลเลี่ยม จัดการและดำเนินการแบบคนเดียวและละเลยที่จะฝึกอบรมทรัพยากรบุคคลเพื่อให้เขาประสบความสำเร็จ นี่เป็นความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่สำหรับ Patrick Head เขายังละเลยที่จะฝึกอบรมบุคลากรด้านวิศวกรรมที่จะต่อยอดความสำเร็จในอดีต ซึ่งปรารถนาความก้าวหน้าในอาชีพการงาน และมีส่วนทำให้คนที่ทำงานในระดับ A หรือ B หลายคนปฎิเสธการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีม
ส่วนหนึ่งที่เป็นปัจจัยทำให้ทีมเดินทางมาถึงจุดต่ำสุดก็คงต้องยกเหตุการณ์อุบัติเหตุทางรถยนต์ของ Frankและหัวหน้าทีม ที่ส่งผลให้เจ้าตัวได้รับบาดเจ็บไขสันหลังและกลายเป็นคนพิการนั่งรถเข็นไปตลอดชีวิต ซึ่งส่งผลให้เจ้าตัวประกาศลงจากตำแหน่งในปี 2012 และการสูญเสีย Adrian Newey นักออกแบบรถแข่งคนสำคัญไปให้กับ BMW และด้วยความดื้อดึง หัวรั้น และความหยิ่งผยองของสายเลือดวิลเลี่ยม ที่ปฎิเสธเทคโนโลยีการแข่งขันที่เข้ามาใหม่ๆ เสมอ ด้วยการที่คงมีทิฐิและอีโก้ที่สูง ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ทีมต้องย่ำแย่และกำลังถูกเปลี่ยนมือในช่วงกลางของฤดูกาลการแข่งขัน
William FW42
เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ปี 2020 William Racing ตัดสินใจขายทีมทั้งหมดให้กับบริษัทการลงทุนสัญชาติอเมริกัน Dorilton Capital โดยจะมีผลทันทีหลังจบการแข่งขัน Italian Grand Prix สนามที่แปดประจำฤดูกาล โดยทาง Dorilton Capital จะยังคงแข่งขันในฤดูกาลปกติต่อไปในนามทีม William Racing และยังเปิดโอกาสให้ Claire Williams ยังคงบริหารทีมต่อไป แต่ด้วยความดื้อรั้น เจ้าตัวกลับปฏิเสธ ทำให้ Dorilton Capital เข้ามาถือหุ้นจำนวน 51.3% แทนที่ครอบครัววิลเลี่ยม โดยมี Brad Hollinger (11.7%); Patrick Head (9.3%) เป็นผู้ถือหุ้นร่วม และยังมีการแบ่งการลงทุนใน public market place อีก 24.1% รวมเข้ากับกองทุนของพนักงานอีก 3.6%
William FW43
F1 อาจจะดูเป็นเพียงกีฬาที่ไม่น่าจะมีอะไรที่ซับซ้อน แต่ในใจความลึกๆ แล้ว การบริหารที่เอาคนเพียงคนเดียวมามีอำนาจในการตัดสินในสูงสุดนั้นเป็นเรื่องที่เข้าใกล้คำว่า “หายนะ” มากที่สุด วงการ F1 เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วจากเกมกีฬาเข้าสู่ธุรกิจ และดูเหมือนว่าเรื่องราวของ William Racing นี้จะกลายเป็นอุทาหรณ์ชั้นดีสำหรับแวดวงกีฬาที่ไม่ใช่เพียงแค่ Motorsport เท่านั้น
Claire และ Sir Frank William
Credit : bestcarweb.jp
[adsforwp id=”1302″]