Skip to content
honda-civic.jpeg

วิเคราะห์ตลาดยานยนต์โลกหลังปี 2035

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าหนึ่งในประเทศที่มีการผลิตและจัดจำหน่ายยานพาหนะอันดับต้นๆ ของโลก คือประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีแบรนด์ระดับโลกมากมายที่ผลิตภายในประเทศ รวมไปถึงการจำหน่ายสู่สาธารณะ และแน่นอนว่าเมื่อทางรัฐบาลญี่ปุ่นพยายามในการผลักดันการใช้เชื้อเพลิงบริสุทธิ์เพื่อลดการปล่อยค่า CO2 สู่ชั้นบรรยากาศ ก็ส่งผลกระทบโดยตรงกับบรรดาผู้ผลิตเหล่านั้น ที่ต้องหมุนเปลี่ยนวิวัฒนาการไปสู่การงานยานพาหนะไปอีกขั้น

[adsforwp id=”1302″]

63c1d201339b30dad92454d2d294e5d3.jpg

สรุปโดยง่ายคือ ภายในปี 2035 ยานพาหนะที่ใช้งานเครื่องยนต์สันดาปภายในประเภทการใช้งานส่วนบุคคลนั้น จะถูกแบนจากการจำหน่ายอย่างเป็นทางการ โดยจะหลงเหลือเพียงโมเดลเก่าที่ใช้งานในปัจจุบัน นั้นก็หมายความว่าการขอขึ้นทะเบียนยานพาหนะที่ใช้งานเครื่องยนต์สันดาปภายใน หลังจากปี 2035 จะถูกปัดตกไป และในปี 2050 ยานพาหนะประเภทส่วนบุคคลที่ใช้งานบนท้องถนนในประเทศญี่ปุ่นจะกลายเป็นยานพาหนะที่ใช้พลังงานสะอาดทั้งหมด ซึ่งรวมไปถึงรถยนต์ Hybrid หรือ PHEV ก็จะถูกห้ามใช้งานไปด้วย

ในทางกลับกัน ยังมีการต่อต้านการใช้งานยานยนต์ประเภท EV ที่ใช้แบตเตอรี่ เนื่องจากปัญหาในการผลิตและการทำลายแบตเตอรี่เหล่านี้ ยังมีผลต่อการปล่อย CO2 สู่ชั้นบรรยากาศ รวมไปถึงกระบวนการจัดการของสถานีชาร์จที่ใช้แหล่งพลังงานจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่ก็สร้างค่าคาร์บอนในอากาศอีกด้วย

3a178d9b3916650e479a91d5abb8b82f.jpg

ไม่เพียงแต่ประเทศญี่ปุ่นเท่านั้นที่กำหนดเป้าหมายการปล่อยค่าคาร์บอนให้ได้ 0% จากยานพาหนะส่วนบุคคล แต่ยังมี อเมริกา และสหภาพยุโรปที่ประกาศเจตนารมย์ในการใส่ใจต่อสภาพแวดล้อมของโลก ที่กำหนดไว้ว่า ในปี 2050 จะไม่มีการปล่อยคาร์บอนจากยานพาหนะส่วนบุคคลอีกต่อไป หรือประเทศที่มีขนาดใหญ่อย่างจีนเอง ก็วางกำหนดการไว้ในปี 2060 ที่จะเข้าร่วมเจตนารมย์เดียวกัน พูดง่ายๆ ในกรณีของญี่ปุ่น ควรเข้าใจว่าปั๊มน้ำมันจะหายไปก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2049 เพื่อตอบสนองต่อแนวโน้มนี้ แต่ก็มีหลายฝ่ายที่ออกมาคัดค้านถึงแนวทางปฎิบัตินี้

[adsforwp id=”1302″]

be5a94ddbb6cd8d6e6bdcde4525931cc.jpg

เรื่องนี้ทำให้ผู้ผลิตมากมายออกมาประกาศว่าบริษัทของตนจะปรับค่าการปล่อยคาร์บอนให้เป็นกลาง ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน อย่าง Honda เองก็ประกาศชัดเจนว่าก่อนปี 2040 จะยุติการผลิตยานพาหนะที่ใช้งานเครื่องยนต์สันดาปภายในทุกประเภท เช่นเดียวกับผู้ผลิตจากอเมริอกาอย่าง Chrysler ของ GM, Ford และ Stellantis ก็จะยุติการผลิตเครื่องยนต์สันดาปภายในทันที หลังปี 2050 เช่นกัน และเราก็ได้เห็นการเดินหน้าเข้าสู่มาตรการใหม่นี้ ด้วยการที่บรรดาบริษัทต่างๆ หันมาให้ความสนใจในการพัฒนาเซลส์พลังงานใหม่ๆ รวมไปถึงรูปแบบของแบตเตอรี่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

673daefc9bb3aea8e7732da9ce3caf67.jpg

เมื่อเร็วๆ นี้ การอภิปรายในฝั่งตะวันตกคือ “อะไรคือพลังงานที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อพิจารณาถึงเครื่องมือที่เรียกว่ารถยนต์นั่งส่วนบุคคล” ไม่มีแนวคิดเรื่องคาร์บอนเป็นกลางที่นี่ กำลังพูดถึงประสิทธิภาพทางกายภาพอย่างหมดจด ที่น่าสนใจคือความคิดเห็นที่โดดเด่นคือ “รถยนต์ไฟฟ้าสำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล” ตามเหตุผล ค่าพลังงานสำหรับการขับรถเป็นระยะทาง 1 กม. คือ ไฟฟ้ามีราคาถูกที่สุด

ยกตัวอย่างง่ายๆ จากข้อมูลของ Bestcarweb สื่อยานยนต์ชื่อดังจากแดนปลาดิบได้ระบุไว้ว่า กำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศนั้นทุกๆ 1kWh สำหรับยานพาหนะนั้น จะมีต้นทุนที่ 15 เยน (4.40 บาท) แต่จะทำให้ตัวรถวิ่งทำระยะได้ 7-9 กิโลเมตร ซึ่งเปรียบเทียบได้กับการใช้น้ำมันบนเครื่องยนต์สานดาปภายใน เท่ากับ 0.3 ลิตร คิดเป็นต้นทุนที่ 50 เยน (14.65 บาท) จะแตกต่างจากยานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิงที่เป็นน้ำมัน นั้นจะทำระยะได้ต่ำกว่า (ทดสอบบนปัจจัยที่เหมือนกัน) อีกทั้งค่าผลิตไฟฟ้านั้น ยังสามารถลดต้นทุนให้ต่ำกว่านี้ได้อีกจึงมีแนวโน้มว่ารถยนต์พลังงานไฟฟ้านั้นมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าเป็นอย่างมาก

e12226b0c88037eb05fd25a84c9de3ae.jpg

นอกจากนี้ปัจจัยหลักของการปล่อยค่าคาร์บอนที่เป็นกลางไม่ได้ขึ้นอยู่กับรูปแบบของกลไกในการขับเคลื่อนเพียงอย่างเดียว เราได้เห็นผู้ผลิตอย่าง Toyota ที่เดินหน้าผลิตยานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจน ซึ่งยังคงใช้งานเครื่องยนต์สันดาปภายในดั่งเดิม เพียงแต่กระบวนการในการจัดเก็บหรือใช้งานที่แตกต่างออกไป และเราได้เห็น Porsche รถยนต์หรูระดับซุปเปอร์คาร์เองก็หันมาพัฒนาเครื่องยนต์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนเหมือนกัน แต่ทั้งนี้ เราก็พอทราบกันดีว่า ราคาต้นทุนของมันสูงกว่ารถยนต์ที่ใช้งานน้ำมันเกือบ 3 เท่าตัว และยังสูงกว่ารถยนต์ไฟฟ้าอยู่ดี แต่มันก็เป็นทางเลือกที่ดูจะมีแนวทางที่ได้ไปต่อสูงสุดสำหรับขุมเครื่องยนต์สันดาปภายใน

92db652843686b34af528a0e6373731a.jpg

จากที่ดูมาทั้งหมดแล้ว ยานพาหนะประเภทเชื้อเพลิงไฟฟ้านั้น น่าจะได้โอกาสที่จะสร้างตลาดที่กว้างกว่า ด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็ว เราจะได้เห็นการใช้งานแบตเตอรี่แบบ Solid Stage ที่มีความจุมากขึ้น และใช้ระยะเวลาในการประจุไฟที่รวดเร็วขึ้น และเมื่อถึงเวลาที่เครื่องยนต์สันดาปภายใน หรือยานพาหนะที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงนั้นถูกสั่งห้ามไม่ให้ใช้งานได้แล้ว เมื่อค่าความต้องการของผู้ใช้งานมากขึ้น การผลิตก็จะเพิ่มขึ้น ต้นทุนในการผลิตเองก็จะลดลงอย่างไม่ต้องสงสัย ซึ่งเราก็ต้องมารอดูกันว่าก่อนจะถึงปี 2035 นั้น การใช้งานยานพาหนะรูปแบบใหม่นี้จะกลายเป็นกระแสหลักแทนที่ยานพาหนะเชื้อเพลิงน้ำมันหรือไม่

Credit : bestcarweb.jp

[adsforwp id=”1302″]

author avatar
writer Writer
เกียรติศักดิ์ งามขำ - นักเขียนประจำเว็บไซต์ Thai Driving ผู้ทำงานในวงการยานยนต์มากว่า 10 ปี ชื่นชอบรถยนต์และยานพาหนะทุกประเภท
eFwRIb.jpeg Banner-MGHS2022-1150x150px.webp GGxRyn.jpeg JnjN68.jpeg MIKi4f.jpeg MIKRxa.jpeg d0b807P.jpeg d0b87gt.jpeg
รถใหม่ ราคารถใหม่ รถเปิดตัวใหม่ เจาะลึกรถใหม่