ล่าสุดเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคมที่ผ่านมา รายงานจาก Kuai Technology สื่อดังในจีน ระบุว่า Toyota กำลังประเมินการเข้าซื้อกิจการ Neta Auto บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในจีนที่กำลังประสบปัญหาอย่างหนักในขณะนี้ แม้จะไม่ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการก็ตาม แต่การดำเนินการนี้อาจจะช่วยให้ Toyota เสริมความแข็งแกร่งให้กับกลยุทธ์ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในตลาดจีนก็เป็นได้ และได้มีการเสนอช่องทางทางการเงินให้กับ Neta อีกด้วย
Neta Auto ก่อตั้งโดย Hozon New Energy Auto ในปี 2014 อยู่ในภาวะวิกฤตมาตั้งแต่กลางปี 2024 การผลิตหยุดชะงักลง มีการเลิกจ้างพนักงานจำนวนมาก และบริษัทต้องดิ้นรนหาแหล่งเงินทุนจากภายนอก เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2025 Neta ได้เปิดเผยแผนการระดมทุนรอบ E ที่ล้มเหลว ซึ่งเกี่ยวข้องกับเงินทุนจำนวน 4,000–4,500 ล้านหยวน หรือประมาณราว ๆ (18,577 – 20,900 ล้านบาท) นักลงทุนชั้นนำซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทุนของประเทศ BRICS ได้ให้คำมั่นว่าจะให้เงินจำนวน 3,000 ล้านหยวน หรือราวๆ (13,933 ล้านบาท) แต่การระดมทุนในครั้งนี้ขึ้นอยู่กับการกลับมาเปิดสายการผลิตอีกครั้งเพื่อเป็นการรักษาการลงทุนที่ตรงกัน แต่ยังไม่มีข้อมูลยืนยันชัดเจนของทั้ง 2 บริษัทในขณะนี้
แม้ว่าโรงงาน Tongxiang ของ Neta จะเปิดทำการอีกครั้งในช่วงสั้นๆ ในช่วงต้นเดือนมกราคม แต่ในขณะนี้ยังไม่มีเปิดสายการผลิตเลย เนื่องจากขาดแคลนชิ้นส่วนทางการผลิตอย่างรุนแรง ความล้มเหลวนี้ทำให้ผู้ลงทุนได้ถอนตัว ส่งผลให้ข้อตกลงดังกล่าวล้มเหลวไปในที่สุด
การประเมินมูลค่าของ Neta ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ในปี 2023 การลงทุน 1.53 พันล้านหยวน หรือราวๆ (7,106 ล้านบาท) โดยหน่วยงานรัฐบาล Tongxiang ประเมินมูลค่าของบริษัทอยู่ที่ 42,300 ล้านหยวน หรือราวๆ (196,460 ล้านบาท) ภายในปี 2025 การเสนอให้ถือหุ้น 50% ด้วยเงินเพียง 3,000 ล้านหยวน หรือราวๆ (13,933 ล้านบาท) ทำให้มูลค่าบริษัทลดลงเหลือเพียง 6,000 ล้านหยวน หรือราว ๆ (27,837 ล้านบาท) ซึ่งลดลง 80% เลยทีเดียว เรื่องนี้ทำให้นักลงทุนในช่วงแรกและนักลงทุนที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐไม่พอใจเป็นอย่างมาก รวมถึง 360 Security Technology ซึ่งผู้ก่อตั้งโดย Zhou Hongyi ได้ถอนการลงทุนตามสัญญา 138 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณราว ๆ (4,603 ล้านบาท) ทำให้ความเชื่อมั่นในการบริหารจัดการของ Neta ลดลงตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ในด้านการเงิน Neta ขาดทุนสะสม 18,300 ล้านหยวน หรือราว ๆ (84,715 ล้านบาท) ในช่วงเวลา 3 ปี และเป็นหนี้ซัพพลายเออร์ 6,000 ล้านหยวน หรือราว ๆ (27,778 ล้านบาท) บริษัทเสนอให้แปลงหนี้ซัพพลายเออร์ 70% เป็นทุนและผ่อนชำระส่วนที่เหลือเป็นงวดๆ พร้อมเตือนว่าอาจจะล่าช้าในการจ่ายค่าจ้างก็เป็นได้หากไม่มีเงินทุนใหม่ หาก Neta ล้มละลาย นักลงทุนของรัฐบาลจีนทางบริษัทจะให้ความสำคัญในการชำระหนี้ก่อน ส่งผลให้ซัพพลายเออร์มีความเสี่ยงเป็นอย่างมาก
นอกจากนี้ Neta ยังอาจต้องเผชิญกับบทลงโทษในประเทศไทย ซึ่งก่อนหน้านี้ได้รับเงินอุดหนุนสูงถึง 150,000 บาท ต่อรถ 1 คัน เพื่อรักษาเงินอุดหนุนเหล่านี้ไว้ Neta จะต้องบรรลุเป้าหมายการผลิตในประเทศอีกครั้งภายในปี 2025 หากไม่บรรลุเป้าหมายดังกล่าว อาจทำให้ต้องชำระเงินอุดหนุน ดอกเบี้ย และการลดหย่อนภาษีต่างๆ เป็นจำนวนมาก
แม้จะมีความวุ่นวาย Neta ยังคงมีมูลค่าทางเทคโนโลยีและมูลค่าทางการตลาดบางส่วน เมื่อวันที่ 26 มีนาคม บริษัทได้รับข้อตกลงหนี้เพื่อแลกกับทุนมูลค่า 2 พันล้านหยวน หรือราว ๆ (9,261 ล้านบาท) กับซัพพลายเออร์รายสำคัญ 134 ราย และได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากสถาบันของไทยและ Solotech ของฮ่องกงอีกด้วย
หากข้อตกลงนี้เกิดขึ้น โตโยต้าอาจใช้เงินลงทุนและความรู้ในการผลิตของ Neta เพื่อเร่งการเปิดตัว EV ในประเทศจีน อย่างไรก็ตาม Xu Yiming ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารแบรนด์ของโตโยต้าในจีน ปฏิเสธข่าวลือดังกล่าวโดยกล่าวว่า “เราไม่ได้ยินอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้เลย!”
ในปี 2024 ยอดขายของ Neta ลดลงเหลือ 64,500 คัน และในเดือนมกราคม 2025 ยอดขายลดลงเกือบ 98% เมื่อเทียบเป็นรายปีเหลือเพียง 110 คัน บริษัทยังเผชิญกับคำวิจารณ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ล้าสมัยและคำกล่าวอ้างด้านประสิทธิภาพที่เกินจริง วิดีโอไวรัลแสดงให้เห็นผู้ก่อตั้ง Fang Yunzhou ก้มขอโทษซัพพลายเออร์และตัวแทนจำหน่าย ซึ่งเน้นย้ำถึงความร้ายแรงของวิกฤตในครั้งนี้
ที่มา: carnewschina.com